วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551

ประวัติการทำนาของคนอีสานในอดีต

ความหมาย หมอลำ

ความหมายของ “ หมอลำ ” ได้มีผู้ให้คำนิยามที่หลากหลายไว้ เช่น หมอลำ หมายถึง ผู้ชำนาญในการขับร้อง ผู้ชำนาญในการเล่านิทาน หรือผู้ที่ท่องจำเอากลอนมาขับร้องหรือลำ หรือ หมอลำ หมายถึง การขับลำนำด้วยภาษาถิ่นอีสานประกอบเสียงดนตรี ” แคน ” กล่าวโดยสรุป หมอลำ ก็คือ ผู้เชี่ยวชาญในการขับลำนำหรือการขับร้อง โดยการท่องจำจากกลอนลำ หรือบทกลอนที่มีผู้ประพันธ์ขึ้นเป็นภาษาถิ่นอีสาน หรืออาจจะหมายถึง ศิลปะการแสดงพื้นเมือง หรือมหรสพอย่างหนึ่งของชาวอีสาน
คำว่า “ ลำ ” ตามพจนานุกรมฯ จะหมายถึง เพลง หรือ บทกลอน ส่วนบางแห่งจะหมายถึง เพลงหรือทำนองขับ หรือจะหมายถึง การเปล่งเสียงขับร้องก็ได้ โดยมักใช้คู่กับ “ ขับลำ ” แต่ถ้าเป็น “ รำ ” จะหมายถึง การแสดงท่าเคลื่อนไหวร่างกายประกอบจังหวะดนตรี ซึ่งทางอีสานมักจะเรียกว่า “ ฟ้อน ” ส่วน “ ลำนำ ” ก็คือ ทำนองที่เกิดจากการสัมผัสกันของบทกลอนที่ใช้ขับร้อง

กำเนิดหมอลำ
หมอลำกำเนิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่ชัด เพราะไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่กล่าวกันว่าน่าจะเกิดขึ้นเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว โดยมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับความเจริญของสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งมีการสันนิษฐานไว้ ๓ ประการ คือ
๑. เกิดจากความเชื่อเรื่องผีฟ้า ผีแถน และผีบรรพบุรุษ ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่า ผีเหล่านี้มีอำนาจเหนือธรรมชาติ สามารถบันดาลให้เกิดภัยธรรมชาติและความเจ็บป่วยแก่มนุษย์ได้ มนุษย์จึงทำพิธีกรรมรักษาผู้ป่วยตามวิธีการของหมอผี คือ การขับ ลำผีฟ้า ลำส่อง ลำทรง แล้วพัฒนาการลำเป็น “ ลำพื้น ” และ “ ลำกลอน ” ตามลำดับ
๒.เกิดจากธรรมเนียมการอ่านหนังสือผูก และการเทศน์ลำ หนังสือผูก คือ วรรณกรรมพื้นบ้านที่มีการจารลงในใบลาน เรื่องราวที่จารอาจเป็นชาดก หรือนิทานพื้นบ้านที่สนุกสนาน เช่น สังข์สินไซ กำพร้าผีน้อย ฯลฯ
สมัยก่อน ในภาคอีสานมักจะมีการอ่านวรรณกรรมพื้นบ้านในที่ประชุมเพลิง โดยเจ้าภาพจะหาหมอลำมาอ่านขับลำนำหนังสือให้ผู้มาร่วมงานได้ฟังคล้ายเป็นมหรสพ หรือแม้แต่ในงานสมโภชสตรี ที่เรียกว่า
“ งันหม้อกรรม ” คือ การอยู่ไฟหลังคลอด เมื่อมีเพื่อนบ้านมาเยี่ยมหรือแสดงความยินดีก็มักมีการจับกลุ่มกันฟังนิทานจากหนังสือผูก ซึ่งความนิยมในการอ่านหรือฟังนี้เอง ที่ทำให้เกิดการคิดวิธีการอ่านให้น่าสนใจ หรือคิดการแสดงประกอบการเล่าเรื่อง แล้วต่อมาก็มีการใช้ “ แคน ” เป็นดนตรีประกอบ จนเกิดเป็นการแสดงที่เรียกว่า “ ลำพื้น ” ขึ้น
๓.เกิดจากการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว เนื่องในโอกาสต่างๆกัน เช่น การลงแขกเกี่ยวข้าว การเข็นฝ้าย หรือในงานนักขัตฤกษ์ โดยหนุ่มสาวได้มีโอกาสสนทนากันด้วยโวหารที่ไพเราะ และมีความหมายลึกซึ้ง ที่เรียกกันว่า ผูกผญาหรือจ่ายผญา (อ่านว่า ผะ – หยา หมายถึง คำคม สุภาษิตที่ชาวอีสานใช้สำหรับสั่งสอนลูกหลานให้ประพฤติอยู่ในจารีตประเพณี หรืออาจหมายถึงคำพูดที่พูดให้คิด มักเป็นคำพูดที่คล้องจองกัน แต่ไม่จำเป็นต้องมีสัมผัสเสมอไป ส่วนการ จ่ายผญา คือ การตอบคำถาม ซึ่งมีผู้ถามแล้ว ก็ตอบไป เป็นการพูดธรรมดา ไม่มีการเอื้อนเสียง ไม่มีทำนอง แต่เป็นจังหวะ มีวรรคตอน ซึ่งฝ่ายชายมักลำเป็นคำถามและฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายตอบ หรือจ่ายผญา )

หมอลำแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
• หมอลำที่แสดงเพื่อความบันเทิง ได้แก่ หมอลำกลอน หมอลำเรื่อง และหมอลำเพลิน เป็นต้น ซึ่งแต่ละ
อย่างก็จะมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น หมอลำกลอน เป็นการโต้ตอบกลอนสด อาจจะเป็นชาย-ชาย หรือชาย-หญิงโต้ตอบกัน เนื้อหาจะเป็นเรื่องประเพณี วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ นิทานพื้นบ้าน คติธรรม ใช้แคนเป็นดนตรีประกอบ ส่วน หมอลำเรื่อง จะเป็นการลำเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน หมอลำเพลิน จะเป็นกลอนลำที่มีทำนอง จังหวะเร็ว สนุกสนาน ไม่มีการเอื้อนเสียง ให้ความครึกครื้นเข้ากับลีลาการเต้น ทำนองได้รับอิทธิพลจากเพลงลูกทุ่งและเพลงไทยสากล ลำเต้ย เป็นกลอนลำที่มีทำนองสั้น กระฉับกระเฉง ไม่เอื้อนเสียง ทำนองแสดงอารมณ์รื่นเริงสนุกสนาน ส่วนใหญ่ใช้เกี้ยวพาราสี และเสนอสาระที่ต้องการเฉพาะเรื่อง ทำนองมีหลายทำนอง คือ เต้ยโขง เต้ยพม่า เต้ยธรรมดา และเต้ยโนนตาล
• หมอลำที่แสดงในพิธีกรรม ได้แก่ หมอลำผีฟ้า เป็นการลำที่มีจุดประสงค์ ๒ อย่างคือ รักษาคนป่วย หรือ พยากรณ์ดินฟ้าอากาศ ทำนองลำจะเป็นจังหวะสั้นบ้าง ยาวบ้าง ดนตรีที่ใช้คือ แคน เนื้อหาของกลอนลำจะเป็นการกล่าวถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้ลำอัญเชิญมา ผู้ลำมีคนเดียว หรือมีบริวารเป็นผู้ฟ้อนรำประกอบลีลา การฟ้อนไม่มีแบบแผนแน่นอน
โดยทั่วไป หมอลำต้องเลือกทำนองการลำให้สอดคล้องกับเนื้อหาของเรื่องด้วย เพื่อให้กลอนลำมีความกลมกลืน อันจะทำให้มีความไพเราะ ก่อให้ผู้ฟังเกิดภาพพจน์และอารมณ์คล้อยตามหมอลำไปด้วย และการลำของหมอลำแต่ละคน อาจจะมีสำเนียงการลำ หรือลีลา ที่เรียกว่า วาดลำ ที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น วาดลำอุบล จะเป็นสำเนียงการลำที่ค่อนข้างช้า เนิบนาบ วาดลำขอนแก่น จะเป็นสำเนียงการลำที่ค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว เป็นต้น (ที่มาwww.culture.go.th)

หมอลำเป็นศิลปะการแสดงของกลุ่มไทยลาว แบ่งออกตามวิวัฒนาการและลักษณะพิเศษเฉพาะอย่างได้ 5 ประเภท คือ 1. หมอลำพื้น หรือหมอลำเรื่อง จะมีหมอลำผู้ชายคนเดียวลำเรื่องนิทานที่เป็นวรรณคดีพื้นบ้านอีสาน เช่น สินไซ กาละเกด นางแตงอ่อน ท้าวหมาหยุย โดยมีหมอแคนหนึ่งคนเป่าประสานเสียง ทำนองที่ใช้มี 3 ทำนอง คือ ทำนองลำทางสั้น ทำนองลำกึ่งทางสั้น-ทางยาว(ทำนองลำเดิน) และทำนองลำทางยาว ส่วนแคนที่เป่าก็จะใช้ลายใหญ่ โบราณ ลายใหญ่ธรรมดา และลายน้อย 2. หมอลำกลอน เป็นหมอลำคู่ คือหมอลำชาย-หญิง ลำโต้ตอบกันในเรื่องต่างๆ บางทีเรียก หมอลำโจทย์-แก้ ปัจจุบันนิยมเฉพาะลำเกี้ยวเท่านั้นโดยที่หมอลำแต่ละฝ่ายจะมีหมอแคนประจำตัวแต่ละคนทำนองของหมอลำกลอน มี 4 ทำนอง คือ ทำนองทางสั้น ทำนองเดิน ทำนองทางยาว และทำนองเต้ย ส่วนแคนใช้ลายสุดสะแนน(สำเนียงขอนแก่น) ลายโป้ซ้าย(สำเนียงอุบลราชธานี) ลายเดิน ลายน้อย และลายใหญ่
หมอลำกลอน เป็นหมอลำคู่ ชาย-ชาย หรือชาย-หญิง ปัจจุบันจะมีเฉพาะคู่ชาย-หญิง เท่านั้น สมัยก่อนจะเน้นในทางแข่งวิชาความรู้กันเป็นหลัก ปัจจุบันนิยมการลำเกี้ยวกันเป็นการสนุกสนานเพลิดเพลิน ต้องใช้ศิลปะสูงยิ่งกว่าหมอลำประเภทใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งการฝึกฝนอบรม ความขยันหมั่นเพียร ตลอดจนคุณค่าของบทกลอน
ทำนองลำมีอยู่สองทำนองคือ ทำนองลำทางสั้น กับทำนองลำทางยาว ปัจจุบันมีทำนองลำเต้ยเพิ่มเข้าเป็นตอน ทำนองลำทางสั้นเนื้อเต็มไม่มีเอื้อนมีจังหวะสม่ำเสมอ ทำนองลำทางยาวหรือบางทีเรียกว่า ลำล่อง หรือลำอ่านหนังสือ เป็นทำนองลำแบบเอื้อนเสียงยาวสะอึกสะอื้นแสดงอารมณ์โศก ส่วนลำเต้ยเป็นการลำแบบเนื้อเต็ม มีจังหวะคึกคัก มีชีวิตชีวา แสดงอารมณ์รักและอ่อนหวาน มักจะแสดงตลอดทั้งคืน ประมาณสามทุ่มจนถึงสว่างทำนองลำเต้ย หมายถึง เพลงสั้นๆ ที่ใช้ลำเกี้ยวกันและมีจังหวะคึกคักมีชีวิตชีวา ซึ่งมีทั้งหมด ๔ ทำนองคือ เต้ยโขง เต้ยพม่า เต้ยธรรมดา และเต้ยหัวโนนตาล ( ที่มา http://kanchanapisek.or.th)
3. หมอลำหมู่ เป็นหมอลำที่ลำเป็นคณะแสดงเป็นเรื่องอย่างลิเกหรืองิ้ว มีตัวแสดง ได้แก่ พระเอก นางเอก และตัวอื่นๆ ตามท้องเรื่อง เดิมใช้หมอแคน 1 คน เป่าประกอบ ต่อมานิยมเอาเครื่องดนตรีลูกทุ่งเข้าไปใช้ด้วย ทำนองที่ใช้ลำ คือ ลำทางยาว ลำเต้ย และลำเดิน ทำนองแคน เวลาลำทางยาวใช้ ลายน้อย หรือลายใหญ่ เวลาเต้ย ใช้ ลายสุดสะแนน หรือโป้ซ้าย การแต่งกาย แต่งกายเหมือนเล่นลิเก แต่ผู้หญิงนิยมใส่ชุดยาวอย่างชุดไทย ปัจจุบันหมอลำหมู่ซบเซามาก เพราะค่าใช้จ่ายสูง แต่รายได้ต่อบุคคลต่ำ 4. หมอลำเพลิน คือ หมอลำหมู่ชนิดหนึ่ง แต่จะใช้ทำนองลำเดินเป็นหลักโดยยักเยื้องทำนองให้เป็น 2 จังหวะ คือจังหวะช้าที่เรียกว่า ทำนองเปิดผ้ากั้ง และจังหวะเร็วที่เรียกว่าเดิน และเครื่องดนตรีนอกจากแคนแล้วยังนิยมใช้พิณเข้าประกอบ มีกลองชุดและวงดนตรีลูกทุ่ง การแต่งกาย หญิงนิยมนุ่งกระโปรงสั้น ทำนองแคน นิยมใช้ลายใหญ่ 5. หมอลำผีฟ้า เป็นหมอลำที่ใช้ลำรักษาคนไข้ ลำเป็นคณะใช้แคนเป่าประกอบ หมอลำผีฟ้าส่วนมากจะเป็นหญิง และมีผู้หญิงเป็นหัวหน้า แต่เวลาลำจะต้องนุ่งโสร่งแต่งกายเป็นผู้ชาย หัวหน้าเป็นพี่ใหญ่คนไข้เป็นน้องเล็ก การลำผีฟ้าจะมีหมอแคนที่เรียกว่าหมอม้าเป่าประกอบ เพราะเชื่อว่าเสียงแคนเป็นพาหนะที่จะนำผีฟ้าเดินทางไป หากไม่มีหมอม้าผีฟ้าก็จะไปไหนไม่ได้ โดยลายแคนที่นิยมเป่าคือ ลายใหญ่ และลายน้อยหมอลำผีฟ้าไม่เรียกร้องค่าจ้างรางวัลแต่ไม่ขัดข้องในการรับค่าคายและของฝาก คนไข้ที่ต้องรักษาด้วยหมอลำผีฟ้า คือ คนที่รักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันไม่หาย หรือป่วยในลักษณะไม่รุนแรง หรือป่วยแบบไม่เจ็บปวด แต่ไม่กินอาหาร(ที่มา http://vdo.kku.ac.th)



คุณสมบัติหมอลำสื่อพื้นบ้านอย่างหมอลำก็เช่นกัน ทุกเรื่องราวในสังคมอีสาน นับตั้งแต่ตำนาน นิทานพื้นบ้าน วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ศาสนา การเมือง และเรื่องราวต่างๆถูกสื่อผ่านการแสดงลำ โดยผู้ที่มีความฉลาดรอบรู้ สามารถจดจำคำบอกเล่าและบอกกล่าวเรื่องราวผ่านการขับลำนำ สร้างจังหวะทำนองได้อย่างน่าฟัง ได้ชื่อว่า "หมอลำ" หมอลำแทบทุกคนเติบโตมาจากสังคมชาวไร่ชาวนา หมอลำที่เก่งต้องเคยบวชเรียน รู้สมาสสนธิ มูลบาลี มูลกัจจาย สามารถอ่านและเขียนทั้งบาลี อักษรธรรม อักษรขอมและอักษรไทน้อยในหนังสือผูกอย่างดี มีความรอบรู้ในทุกสาขาวิชา หมอลำยุคแรกจึงเป็นผู้ชายที่มีโอกาสบวชเรียน ผญาบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า "นักปราชญ์ผู้เพิ่นฮู้ บ่ปานเจ้าแตกลำ" นักปราชญ์ราชบัณฑิตที่รอบรู้นั้นสู้หมอลำที่มีความสามารถสูงถึงขั้นที่เรียกว่า "ลำแตก" ไม่ได้ หมอลำที่เก่งเข้าขั้นลำแตกต้องรู้รอบ สามารถลำโต้แก้หมอลำอีกฝ่ายได้อย่าง ลื่นไหล ไม่ติดขัด มีปฏิภาณ สามารถด้นกลอนสดได้สละสลวย เข้าใจและเข้าถึงแก่นแกนชีวิตและสภาพสังคมของผู้ฟัง นำศิลปะการร้องและการฟ้อนเข้ามาประกอบได้อย่างดี (ที่มา http://www.ngthai.com)

วิเคราะห์สิ่งที่ได้จากกลอนลำเรื่องประวัติการทำนาของคนอีสานในอดีต
1.ภูมิปัญญาการใช้ภาษา เป็นการใช้ภาษาอีสานที่เป็นแบบดั้งเดิม เช่น
เข่า แปลว่า ข้าว
เบิ่ง แปลว่า ดู
ทุกหย่าง แปลว่า ทุกอย่าง
ปัจจุบันพบว่าวัฒนธรรมการใช้ภาษาอีสานปัจจุบันได้เปลี่ยนไปมาก พ่อแม่ชาวอีสานส่วนมากจะไม่สอนถ่ายทอดภาษาอีสานให้กับลูกหลาน ซึ่งจะใช้ภาษากลางในการสื่อสารเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น เด็กอีสานรุ่นใหม่จะไม่รู้จัก พูดภาษาอีสานไม่ได้ ฟังไม่รู้เรื่องโดยเฉพาะภาษาหมอลำเป็นแบบดั้งเดิม ดังนั้น การได้เรียนรู้กลอนลำจึงเป็นประโยชน์ให้เด็กรุ่นหลังได้รู้จักการใช้ภาษาอีสานมากยิ่งขึ้น ถือเป็นการอนุรักษ์และเผยแพร่ภาษาอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากการได้ความรู้ที่แฝงอยู่ในลำกลอน ซึ่งเป็นการถ่ายทอดภูมิความรู้จากคนและเรื่องราวในอดีต นับเป็นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์อีกทางหนึ่งผ่านบทลำกลอน
รวมทั้งการเรียนรู้คำกลอนที่คล้องจองกันหรือที่เรียกว่าพหูพจน์ จากกลอนลำเช่น ผ่องพาหวงพาหวานไก่กาสุราเหล้า หรือ นกแขกเต้าคีดคู่อยู่เขาเขียว นับเป็นการใช้ภาษาอย่างสวยงามของหมอลำกลอน และเป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญามาจากครูอาจารย์ในอดีต จนถ่ายทอดออกมาเป็นลำกลอนที่มีคุณภาพในปัจจุบัน

2.การแฝงการสอนสั่งของคนโบราณที่เกี่ยวกับ คะลำของชาวอีสาน
ในลำกลอนมีการการสอนให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของข้าวว่ามีมากมาย กินข้าวแล้วทำให้มีเรี่ยวแรง กินแล้วเกิดความรักใคร่สามัคคีกัน ไม่ว่าจะสัตว์โลกประเภทใดก็ชอบกินข้าว โดยเป็นการสอนให้รู้จักบุญคุณของข้าว เป็นอีกหนึ่งประเพณีที่มีกฎหรือที่เรียกว่า คะลำ ซึ่งเป็นข้อห้ามที่เกี่ยวข้องกับข้าว เช่นก่อนจะตักข้าวเปลือกในเล้าไปตำให้กล่าวคำว่า กินอย่าให้บก จกอย่าให้ลงเด้อ โดยเวลาจะตักข้าวสารไปหม่าหรือแช่น้ำก่อนึ่ง จะต้องนั่งคุกเข่าให้เรียบร้อย ถ้ายืนโก่งโค้ง คะลำ ข้าวเปลือกหรือข้าวสารหก ห้ามใช้ตีนเขี่ย ข้าวเหลือกินในไร่นาหรือในป่าต้องนำกลับเข้าบ้านทุกเมล็ด กินข้าวเสร็จต้องยกมือไหว้สำรับข้าว ข้าวสารต้องไม่ให้หมดหรือขาดบ้าน ข้าวเหนียวในก่องหรือกระติบข้าวต้องเหลือติดไม่ให้ขาดได้ กินของในถ้วยชามห้ามกินหมดเกลี้ยง เมื่อหมดฤดูกาลทำนาแล้วมีพิธีการสู่ขวัญมิฉะนั้นจะเกิดการ คะลำ เป็นต้น (ประมวล พิมพ์เสน :ฮีต 12คลอง 14 ประเพณีผูกเสี่ยว.2546)

3.ด้านการใช้เครื่องมือเครื่องใช้แบบพื้นบ้าน
เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนาปลูกข้าวที่ใช้สืบทอดมาจากอดีตเป็นสิ่งที่วิวัฒนาการมาจากพื้นบ้าน โดยการทำขึ้นเอง โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นและได้ปรากฎอยู่ในกลอนลำ ดังนี้
-แอก คือ ไม้ครอบคอควาย สำหรับผูกเชือกค่าวให้ควายลากไถ ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง น้ำหนักเบาหาได้ในท้องถิ่น
- จอบเป็นเครื่องมือมีคมใช้ขุดดิน ถากหญ้า ทำด้วยเหล็ก รูปแบน หน้ากว้าง มีบ้องใส่ด้าม ด้ามยาวประมาณ 100-120 เซนติเมตร เส้นรอบวงประมาณ 13 เซนติเมตร ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง รูปกลม จอบเป็นเครื่องมือที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันตลอดปี เมื่อใช้เสร็จต้องเก็บไว้ในที่ปลอดภัย เช่นใต้ถุน เล้าข้าวเป็นต้น
-กระถวยเป็นเครื่องหาบที่หาบทำจากไม้ไผ่ เอาไว้ใส่ข้าว

วิเคราะห์การใช้ภูมิปัญญาจากเครื่องมือเครื่องใช้เปรียบเทียบกับปัจจุบัน
ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเครื่องมือเครื่องใช้จากแบบพื้นบ้านเป็นแบบสมัยใหม่ เช่นการใช้รถไถแทนการใช้ควาย เพราะทำให้ประหยัดเวลา สามารถดัดแปลงให้บรรทุกสิ่งของได้ รถไถนาสามารถไถนาได้มากสุดวันละ 4-6ไร่ ซึ่งแรงงานจากควาย 1ตัวไม่สามารถทำได้เท่าควายเหล็กหรือรถไถ ความนิยมจึงได้เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้กับควายที่เรียกว่าแอก จึงไม่จำเป็นที่จะใช้ต่อไปในปัจจุบัน ส่วนการใช้กระถวยและจอบยังคงมีใช้อยู่ในการทำนาเพราะเป็นเครื่องมือพื้นฐาน

4.ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ในบทกลอนนี้ได้กล่าวถึงภูมิปัญญาการมัดรวงข้าวด้วยหัวเผือก เป็นการใช้สิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นนำมาใช้ให้เหมาะสมหรือการเสียลาน คือในช่วงที่เกี่ยวข้าวแล้วจะต้องทำข้าวเป็นเป็นกำข้าวตากแดดไว้ที่นา 3วัน จากนั้นมัดหัวข้าวเป็นกองแล้วเอาไว้ที่ลานข้าว เรียกว่าเป็นการเสียลานคือการเลือกที่ดินราบเรียบแล้วเคลือบหน้าดินด้วยขี้วัว จากนั้นเอามัดข้าวมาวางเพื่อตีเอาเม็ดข้าวออกจากกัน พอเอาข้าวขึ้นยุ้งไปแล้วยังเป็นปุ๋ยให้กับดินด้วย นับเป็นการใช้ประโยชน์จากสิ่งรอบตัวและเป็นความรู้ให้กับชนรุ่นหลังได้ทราบอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีการวางข้าวไว้ที่พื้นคอนกรีตแทนหรือใช้มุ้งตาข่ายเป็นที่รองรับข้าวแทน


5.การเกี่ยวข้องกับประเพณีฮีต 12
ประเพณี ฮีต 12ฮีตแปลว่าจารีต คือสิ่งที่เคยปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ฮีตปฏิบัติกันเป็นประจำเดือน ครบ12เดือน คือมีประเพณีการจุดบั้งไฟ เพื่อขอน้ำฝน ให้ความอุดมสมบูรณ์ของเกษรกรรม จึงเรียกว่า บุญบั้งไฟซึ่งบุญบั้งไฟเป็นงานสำคัญของชาวอีสานก่อนลงมือทำนา ด้วยความเชื่อว่าเป็นการขอฝนเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าในนาอุดมสมบูรณ์ ประชาชนอยู่อย่างมีความสุข ในงานจะมีการแห่บั้งไฟ และจุดบั้งไฟเพราะเชื่อว่าเป็นการส่งสัญญาณขึ้นไปบอกพญาแถน ให้ส่งน้ำฝนลงมา ระหว่างที่มีการจุดบั้งไฟชาวบ้านจะมีการเซิ้งอย่างสนุกสนาน การทำบุญบั้งไฟนับเป็นการชุมนุมที่สำคัญของคนในท้องถิ่นที่มาร่วมงานบุญกันอย่างสนุกสนานเต็มที่ มีการนำสัญลักษณ์ทางเพศมาล้อเลียนในขบวนแห่บั้งไฟ โดยไม่ถือว่าเป็นเรื่องหยาบคาย การทำบุญบั้งไฟนี้บางทีจะตรงกับประเพณีบุญวันวิสาขบูชาด้วยซึ่งในกลอนลำได้กล่าวถึงว่าก่อนจะทำนาจะต้องมีการขอฝนโดยการทำพิธีบั้งไฟเสียก่อนนับเป็นความเชื่อและเป็นประเพณีที่สืบทอดจากคนในอดีตซึ่งในปัจจุบันสามารถพบได้ในบางพื้นที่ของภาคอีสาน

6.ความเชื่อด้านวิญญาณ
วิถีชีวิตของชาวอีสานจะมีความเชื่อกับวิญญาณว่าจะสามารถดลบันดาลให้เกิดสิ่งที่ดีงามได้ และโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการทำนาเพื่อขอพรให้ได้ผลผลิตที่ดีซึ่งได้ปรากฏจากลำกลอนดังนี้

- ผีตาแฮกเป็นผีประจำท้องไร่ท้องนา ถือกันว่าเป็นผีที่ปกปักรักษาพืชสวนไร่นา และทำให้ข้าวกล้า เจริญงอกงาม อุดมสมบูรณ์ การทำนาจะได้ผลดี จึงมีการเซ่นไหว้ผีตาแฮกทุกปี ปีละ ๒ ครั้ง คือ ก่อนลงมือปักดำ และหลังการเก็บเกี่ยว ฉะนั้นในที่นาของแต่ละคนจะมีที่ที่ให้ผีตาแฮกอยู่ ซึ่งบางคนอาจปลูกกระท่อมหลังเล็ก ๆ บางคนจะปักเสาเป็นสัญลักษณ์ว่าที่ตรงนี้คือ ที่อยู่ของผีตาแฮก หรือบางแห่งจะทำรั้วถี่ ๆ ล้อมบริเวณใดบริเวณหนึ่งไว้ ซึ่งชาวบ้านจะทราบดีถึงที่อยู่ของผีตาแฮกนี้ บทกลอนลำจะกล่าวถึงการบวงสรวงตาแฮกก่อนการทำนาด้วยพาหวานที่ประกอบด้วยซึ่งหมายถึง กองเครื่องสังเวยสำรับหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปใช้ข้าวนึ่งคลุกน้ำตาลเป็นหลัก และมีเครื่องประกอบอื่นๆเช่นไข่ หรือกับข้าวอื่นๆตามที่หาได้ นอกจากนี้อาจมีหมากและยาสูบเป็นเครื่องประกอบด้วย รวมทั้งการบวงสรวงด้วยไก่ต้มสุราเหล้า เป็นพิธีกรรมที่ทำโดยมีจ้ำหรือ คนที่ทำหน้าที่เข้าทรง เป็นคนทำพิธีต่างๆนั่นเอง

-ปู่ตา แต่ละหมู่บ้านในภาคอีสานจะนับถือผีประจำบ้านที่เรียกว่า “ ผีปู่ตา ” ผีปู่ตาเป็นผีที่คอยดูแลรักษาป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่จะมากระทำแก่คนในหมู่บ้านทุก ๆ ปี จะมีการเลี้ยงผีปู่ตามักจะเป็นป่าที่มีต้นไม้อายุนับร้อยปี เพราะชาวบ้านมีความเชื่อว่า หากไปตัดไม้หรือยิงนกภายในบริเวณดอนปู่ตา ผีปู่ตาจะโกรธาและบันดาลให้ชีวิตประสบแต่อัปมงคล ในพิธีเลี้ยงผีปู่ตานั้นเฒ่าจ่ำจะเป็นพิธีกรเพราะเฒ่าจ่ำเป็นคนกลางในการติดต่อระหว่างชาวบ้านกับผีปู่ตา เมื่อวันเลี้ยงผีบ้าน ชาวบ้านจะจัดเตรียมอาหารคาวหวานไปร่วมในพิธีเช่น ข้าวต้ม ไข่ต้ม ไก่ต้ม เหล้าขาว ปั้นข้าว ข้าวดำข้าวแดง กล้วย น้ำอ้อย น้ำตาลในกลอนลำบทนี้ได้กล่าวว่า ก่อนจะทำนาจะต้องมีการเลี้ยงปู่ตาเสียก่อน เพื่อที่ท่านจะได้ดลบันดาลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ในการปลูกข้าว
-แถน "แถน" เป็นเทพดั้งเดิมของชนเผ่าไท ผีที่มีอิทธิพลต่อการทำมาหากิน ต่อความเป็นอยู่ของผู้คน เพราะว่าเป็นผู้ที่สร้างทุกสิ่งทุกอย่างในโลกไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ทุกอย่าง พระยาแถนเป็นผู้สร้าง อิทธิพลของพระยาแถนมีมากมายเหลือเกิน จึงทำให้ผู้คนกลัวมากและเมื่อมีปัญหาอะไรก็รู้ว่าสาเหตุที่จะปัดเป่าได้คือต้องไปขอให้พระยาแถนช่วย เพราะฉะนั้นพิธีที่สำคัญมากต่อการทำมาหากินและการปลูกข้าวของคนไทยหรือคนถิ่นไทยลาว คือ พิธีจุดบั้งไฟ เพื่อส่งสารไปถึงพระยาแถน ขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลพิธีกรรมในประเพณีจุดบั้งไฟ เป็นพิธีที่ไม่สามารถทำขึ้นโดยคนเพียงไม่กี่คน แต่เป็นเรื่องของคนทั้งชุมชนทั้งสังคมต้องให้ความร่วมมือ ร่วมใจกันที่จะแก้ปัญหาวิกฤตในสังคมตัวเองและบทบาทของพิธีกรรมนี้ไม่ใช่ เพียงแต่จะบันดาลให้ฝนตกมาได้ตามความเชื่อของท้องถิ่น แต่มีความหมายอีกมากมายต่อความเป็นอยู่ของชุมชนของสังคมข้าวในสังคมไทย พิธีกรรมมีความสำคัญต่อการสร้างจิตสำนึกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การสร้างจริยธรรม คุณธรรมของท้องถิ่นโดยผ่านพิธีกรรมต่างๆ โดยในบทกลอนนี้ได้กล่าวว่าในเดือนหกหรือเดือนมิถุนายน เป็นการเริ่มต้นการทำนา จะต้องมีการขอฝนจากแถนให้ตกต้องตามฤดูกาลเพราะการทำนาจะต้องมีการใช้น้ำเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงเป็นความเชื่อของชาวนาในการขอฝน

-แม่โพสพ "แม่โพสพ" เป็นเทพธิดาแห่งข้าว แม่นั้นเป็นผู้ให้กำเนิด เป็นผู้ที่มีบทบาทสูงที่สุดในครอบครัวและสิ่งที่มีคุณประโยชน์ทั้งหลายในสังคมไทยนั้น มักจะใช้คำว่าแม่เป็นคำเรียกชื่อไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำ แม่ธรณี ฯลฯ การใช้คำว่า "แม่" เรียกข้าวก็คือเป็นการให้การยกย่องมากที่สุด ข้าวมีความสำคัญก็เพราะว่าข้าวเป็นผู้ให้ชีวิตแก่มนุษย์ เพราะฉะนั้น หน้าที่ที่มนุษย์ต้องตอบแทนคือมนุษย์ต้องเลี้ยงดูฟูมฟักเลี้ยงดูข้าวด้วย ข้าวมีขวัญข้าว ซึ่งเหมือนกับมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ต้องมีขวัญ ขวัญนั้นสามารถที่จะกระทบกระเทือนเจ็บไข้ได้ป่วยหรือไม่พึงพอใจได้ เพราะฉะนั้นถ้าต้องการให้อยู่ดีมีสุข ต้องเอาอกเอาใจขวัญของข้าวโดยในบทกลอนนี้ได้กล่าวถึงการกล่าวเชิญแม่โพสพขึ้นไปสู่เล้าข้าว โดยมีความเชื่อว่านางโพสพเป็นผู้หญิงที่ตกใจง่ายดังนั้นจะทำอะไรจะต้องมีการบอกกล่าวเพื่อไม่ให้นางโกรธ ถ้าเกิดทำให้แม่โพสพพอใจก็จะทำให้ข้าวอุดมสมบูรณ์ได้ อีกทั้งการกล่าวถึงประโยชน์ของข้าวที่มีมากมาย คนสัตว์ต่างก็กินข้าวเหมือนกัน การกินข้าวทำให้ครรักใคร่กันมีเรี่ยวแรงในการทำงานสิ่งต่างๆ

-แถน เป็นเทวดาหรือผีฟ้าอยู่บนสวรรค์ มีอำนาจบันดาลให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ แก่มนุษย์ สัตว์ และพืชพันธุ์ธัญญาหารบนโลกได้ ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือแถนมาก ยามทุกข์ร้อนสิ่งใด มักจะบนบานให้แถนช่วยเหลือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำนา คือ ชาวบ้านเชื่อว่า แถนมีอำนาจสั่ง ให้ฝนตกได้ แต่ละปีจึงมีพิธีจุดบั้งไฟบูชาแถน เพื่อให้แถนสั่งให้ผู้มีหน้าที่ทำให้ฝนตก เช่น นาค พระพิรุณ ประทานฝนลงมาให้ในกลอนบทนี้ได้กล่าวว่าก่อนที่จะทำนาจะต้องมีการ เลี้ยงแถน เพื่อขอให้เกิดฝนตกถ้าฝนไม่ตกก็จะไม่มีน้ำเพื่อที่จะเอามาทำนาให้เกิดผลผลิตได้ จึงต้องอาศัยแถน ซึ่งมีอิทธิฤทธิ์ในการสั่งให่ฝนตกได้

7.การกล่าวถึงประโยชน์ของข้าวในบทกลอนได้กล่าวถึงประโยชน์ของข้าวโดยแบ่งตามหัวข้อดังนี้
1.ด้านร่างกาย ข้าวเป็นอาหารหล่อเลี้ยงให้เจริญเติบโต อยู่เย็นเป็นสุข จะหาสิ่งใดมาหล่อเลี้ยงร่างกายให้เหมือนข้าวไม่มี ดังกลอนลำที่กล่าวว่า ฟังประโยชน์เข่าดีเหลือล้นหมื่นถือ คนเฮากินสู่มื้อหนึ่งสามเวลา กินกับปลามันมันแซบดีตั๊วเข่า กินแล้วมีแฮงเว้านำกันบ่อมีเบื่อ
2.ด้านจิตใจ ข้าวเป็นสายใยร้อยรัดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ ดินฟ้าอากาศ ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และธรรมชาติอื่นๆให้เกิดขึ้น สืบเนื่องกันอย่างลึกซึ้ง ดังกลอนลำที่กล่าวว่า บ่อว่าหมาว่าม้าเป็ดไก่ทั้งหมด สัตว์อยู่มะคดโลกดินหินก้อน เห็นแต่มันกินเข่าคือกัน


8.การแสดงหมอลำกลอน
-วิธีการแสดง
เป็นการแสดงประเภทศิลปินเดี่ยว มีคนเดียวเวลาไปแสดงจะไปกับหมอแคนหรือแคนประจำตัวส่วนคู่ลำเจ้าภาพจะจัดมาให้ต่างหาก มักจะเป็นชายทั้งคู่หรือชายหนึ่งหญิงหนึ่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าภาพ
แต่ไม่ปรากฎว่าเป็นหญิงทั้งสองคน การแต่งกายชายใส่ชุดสุภาพ ผูกเนกไท กางเกงแสล็ก หญิงนุ่งชุดผ้าไหม
-คุณลักษณะ
ลำดี เสียงดี รูปร่างดี มีไหวพริบปฎิญาณ โวหารดี มีความรู้ดี และสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กลอลำต้องเป็นกลอนที่มีคุณภาพ ทันสมัยมีเนื้อหาสาระที่มีรสสัมผัสสูง รวมทั้งกลอนเบ็ดเตล็ด กลอนสุภาษิต คติธรรม คำสอน หรือบางครั้งอาจต้องใช้คำกลอนสดอีกด้วย
-ลักษณะและการใช้คำกลอน
เป็นกลอนสุภาพหรือกลอนแปด มีการบังคับสัมผัสนอกสัมผัสใน บังคับวรรณยุกต์ในแต่ละวรรคคือ สลับ-รับ-ร้อง-ส่ง บางครั้งใช้คำผญา คำพังเพยโตงโตย ใช้สร้อยคำคำเสริมและการเอื้อนเสียง เพื่อให้เกิดความไพเราะและเข้ากับจังหวะดนตรีทำให้การร้องรำมีสีสรรค์มากขึ้น

จากประสบการณ์ภูมิปํญญาของหมอลำกลอนผู้แต่งกลอนลำเรื่อง ประวัติการทำนาของคนอีสานในอดีต
จากการสัมภาษณ์หมอลำอุดม ธนูทองพบว่าชีวิตวัยเยาว์เนื่องด้วยเป็นคนชอบสนุกสนาน ชอบหมอลำเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ได้มีโอกาสบวชเณรจากพรสวรรค์ที่มีอยู่เดิจึงทำให้เทศน์หรือแหล่เป็นภาษอีสานอยู่บ่อยๆ ในสมัยนั้นค่าแรงการแสดงต่อคืนได้ค่อนข้างสูงคือ 150 บาทจึงได้รับการแนะนำจากหมอลำที่ได้ไปชมการแสดงให้ไปเรียนหมอลลำกับหลวงปู่วิเศษสารนิติและท่านประจันทะศรีได้ฝึกทำนองลำเป็นเวลานานหลายปี แรงบันดาลใจในการแต่งลำกลอนพบว่าเนื่องด้วยครอบครัวเป็นชาวนาอยู่แล้วจึงได้มีข้อมูลจากประสบการณ์อย่างมากมายในการทำนา ทั้งกระบวนการและความเชื่อที่ได้ปรากฏอยู่ในลำกลอน จากความรู้ที่ได้บ่มเพาะมามากมายทั้ง ประวัติศาสตร์ คณิตศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ โหราศาตร์ ภาษาบาลี ไวยากรณ์
สันสกฤษ การได้รับการถ่ายทอดจากผู้มีประสบการณ์โดยตรงดังนี้ ล้วนทำให้หมอลำอุดมมีความรู้ความสามารถทางด้านการแสดงและการแต่งลำกลอนอย่างมีประสิทธิภาพ

8. บทบาทหมอลำในปัจจุบัน
บทบาทหมอลำต่อชุมชน หมอลำ เป็นการแสดงศิลปะพื้นเมืองที่มีคุณค่า และมีความสำคัญยิ่งต่อชาวอีสานในอดีต เพราะนอกจากจะเป็นศิลปะที่ให้ความบันเทิง สนุกสนานเพลิดเพลิน สอดแทรกความรู้ ความคิด คติธรรม ความเชื่อ ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ที่ทำให้คนฟังเกิดความเฉลียวฉลาด และมีส่วนช่วยส่งเสริมจริยธรรมคุณธรรม รักษาบรรทัดฐานของสังคม ช่วยอนุรักษ์วรรณกรรมและศิลปะพื้นบ้านแล้ว ยังเป็นสื่อในการถ่ายทอดความคิดเห็นของประชาชน เป็นภูมิปัญญาของชุมชนในสมัยที่การศึกษายังไม่เจริญเช่นทุกวันนี้ ถือเป็นการศึกษานอกระบบที่เน้นความประพฤติ สอนให้คนเป็นคนดี และในสมัยหนึ่ง หมอลำยังช่วยเผยแพร่ความรู้ด้านลัทธิการเมือง ชี้แนะให้ประชาชนเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตย และให้ความรู้ต่างๆ เช่น การวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิด การกินที่ถูกสุขลักษณะ เป็นต้น
ในสภาวะสังคมแบบดั้งเดิมที่คนส่วนใหญ่ยังอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ หมอลำ ได้รับการยกย่องว่า เป็น ปราชญ์ของสังคม เพราะเป็นผู้สืบทอดและถ่ายทอดภูมิปัญญา ตลอดจนวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นควบคู่กับวัด ทั้งนี้ เพราะผู้ที่จะเป็นหมอลำที่ดีได้นั้น จะต้องเป็นผู้มีความรอบรู้หลายด้านและหลากหลายไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การทำมาหาเลี้ยงชีพ ขนบธรรมเนียมประเพณี บาปบุญคุณโทษ ค่านิยมสังคม ข้อธรรมะไปจนถึงนิทานชาดก และข่าวสารการบ้านการเมือง อีกทั้ง ต้องมีปฏิภาณไหวพริบในการโต้ตอบและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าบนเวทีได้อย่างทันท่วงที
กล่าวได้ว่า หมอลำมีคุณค่าความเป็น Folk Art อยู่ที่ลักษณะเด่น ๓ ประการคือ เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน เชิงสุนทรียภาพเหมือนศิลปะชั้นสูง มีความใกล้ชิดกับผู้ชม และมีความสัมพันธ์ระหว่างศิลปินผู้แสดงกับผู้ดู
นับแต่อดีตมา หมอลำได้มีการปรับเปลี่ยนตนเองมาโดยตลอด ยิ่งในกระแสวัฒนธรรมสมัยใหม่ ซึ่งเป็นยุคโลกไร้พรมแดนอย่างปัจจุบัน หมอลำก็เช่นเดียวการละเล่นหรือการแสดงพื้นบ้านอื่นๆที่กำลังจะตายหรือเสื่อมไปจากความนิยม จึงต้องมีการประยุกต์ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น ปรับจากหมอลำพื้น หมอลำกลอน มาเป็นหมอลำเพลิน แล้วเป็น ลูกทุ่งหมอลำ คือ เพลงลูกทุ่งที่ผสมผสานระหว่างทำนองเพลงและทำนองลำเข้าด้วยกัน จนมาถึง หมอลำซิ่ง ซึ่งก็คือ หมอลำกลอนแบบใหม่ที่นำเครื่องดนตรีตะวันตก ประเภทวงสตริงเข้ามาผสม ซึ่งหมอลำซิ่งในปัจจุบันก็กำลังเป็นปัญหาที่หมิ่นเหม่ต่อศีลธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม เนื่องด้วยลีลาและท่าเต้นที่ออกมาไม่ค่อยเหมาะสม อีกทั้งมักจะมีการทะเลาะวิวาทในกลุ่มวัยรุ่นผู้ชม ทำให้หมอลำซิ่งกำลังจะกลายเป็นวิกฤตของการแสดงหมอลำในขณะนี้ นอกจากนี้ก็ยังมี ลูกทุ่งตลกหมอลำ คือ เป็นลูกทุ่งผสมหมอลำอีสาน มีตลกนำ เน้นความบันเทิง และความอลังการของหางเครื่องและการแสดง
อย่างไรก็ดี การปรับเปลี่ยนเพื่ออยู่รอดทั้งรูปแบบและเนื้อหา โดยเฉพาะการปรับให้เข้ากับกฎเกณฑ์ของสื่อในการนำเสนอ รวมทั้งความนิยมของผู้ชมในปัจจุบัน ก็เป็นเหตุให้โครงสร้างบางอย่างที่เป็นศิลปะพื้นบ้านของหมอลำอาจล่มสลายไปได้ในอนาคต ต่อไปหมอลำอาจเหลือเพียงแต่ชื่อ แต่แก่นหลักอาจเปลี่ยนแปลงไป คุณธรรมจริยธรรมที่เคยสอดแทรกอยู่ในกลอนลำ ก็อาจถูกปรับให้เข้ากับกระแสค่านิยมสมัยใหม่ หมอลำอาจกลายเป็นศิลปะพื้นบ้านที่กลายพันธุ์จนไม่เหลือเค้าเดิม ที่วิกฤติยิ่งกว่านั้น คือ อาจสูญพันธุ์ กลายเป็นตำนานของช่วงหนึ่งแห่งกาลเวลาเหมือนการแสดงอื่นๆ ในผลวิจัยดังกล่าว ได้สรุปและเสนอทางแก้ไว้ว่า การจะรักษาหรือเยียวยาการแสดง “ หมอลำ ” ไม่ใช่เรื่องที่ชาวหมอลำจะทำได้ด้วยตนเอง เพราะหมอลำส่วนใหญ่ยังขาดวิสัยทัศน์ และเอกภาพเนื่องจากการไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน การแก้ปัญหาจึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันเป็นเจ้าภาพ สนับสนุนส่งเสริมให้หมอลำสามารถพัฒนาตนเองให้สื่อกับคนรุ่นใหม่ได้ รวมทั้งต้องสร้างจิตสำนึกให้เยาวชนรักและภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ดังกล่าว ด้วยการจัดตั้งโรงเรียนหมอลำ อบรมหมอลำรุ่นใหม่ ตั้งสมาคมหรือสมาพันธ์หมอลำเพื่อส่งเสริมเอกภาพและความเข้มแข็งของหมอลำ จัดตั้งพิพิธภัณฑ์หมอลำเพื่อรวบรวมประวัติความเป็นมาให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา (www.culture.go.th)
สรุป
หมอลำกลอนนับว่าเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวอีสานที่ไม่ใช่จะอยู่ในฐานะนักแสดงที่ให้ความบันเทิงแก่ผู้ชมเท่านั้น แต่ยังเป็นบุคคลที่ถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ชมในด้านต่างๆ หมอลำกลอนจะต้องเป็นผู้มีความสามารถในการแต่งลำกลอนและแสดงในการด้นสดอีกด้วย ความรู้ที่หมอลำกลอนได้ถ่ายทอดนับเป็นคลังความรู้ที่สำคัญที่ทำให้คนรุ่นใหม่ได้ทราบถึง ยกตัวอย่างเช่นสิ่งที่ได้จากกลอนลำเรื่อง ประวัติการทำนาอีสาน ในอดีตทำให้ผู้ฟังได้รู้จักการใช้อุปกรณ์ กระบวนวิธีในการทำนาที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางวิญญาณ อันได้แก่ ผีปู่ตา ผีตาแฮก แถน การทำพิธีผ่านจ้ำ หรือแม่โพสพที่เป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ประเพณีต่างๆที่เกี่ยวข้องเช่นฮีต 12 การทำพิธีขอฝนหรือบุญบั้งไฟ เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลเป็นต้น
หมอลำกลอนปัจจุบันได้เปลี่ยนรูปแบบเป็นหมอลำซิ่งเพื่อให้เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น อาจมีการสอดแทรกเรื่องราวเช่นหมอลำเรื่องต่อกลอน ซึ่งเป็นการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นใหม่ที่รักสนุกและด้วยสังคมปัจจุบันคนดูไม่ต้องการที่จะรับรู้เรื่องราวที่เป็นความรู้มากนักหากแต่ชอบการสนุกสนานและเร้าใจ จึงทำให้บทบาทหมอลำกลอนได้ลดน้อยลงไป และด้วยการขาดคนสืบทอดทำให้เป็นที่น่ากลัวว่าหมอลำกลอนและกลอนลำจะจางหายไปจากสังคมอีสานทีละน้อย จึงควรที่ทุกวขาจะช่วยกันในการอนุรักษ์สืบทอดภูมิปัญญาหมอลำกลอนให้คงอยู่กับลูกหลานชาวอีสานสืบไป

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551

ผีตาแฮก : ความเชื่อของชาวนาอีสาน

การปลูกข้าวในยุคสมัยต่าง ๆ ตามแบบแผนวิถีชีวิตของคนไทย มุ่งปลูกข้าวเพื่อบริโภค เป็นหลัก เหลือบริโภคก็เก็บไว้ในยุ้งฉาง จะนำไปแลกเปลี่ยนกับปัจจัยอื่น ๆ บ้าง ก็เฉพาะสิ่งที่จำเป็น จริง ๆ เช่น แลกกับเสื้อผ้า อาหาร เกลือ ยารักษาโรค แต่ไม่นิยมขายข้าว ไม่แลกเปลี่ยนข้าวกับ เครื่องประหัตประหาร ทั้งนี้เพราะคนไทยเชื่อว่าข้าวเป็นสิ่งที่มีบุญคุณ มีจิตวิญญาณ มีเทพธิดา ชื่อว่า "แม่โพสพ" ประจำอยู่ ในท้องถิ่นบางแห่งเรียกว่า "นางโคสก" หรือ "แม่โคสก" เชื่อกันว่า นางมีอิทธิฤทธิ์สามารถดลบันดาลความสมบูรณ์พูนสุขแก่ผู้ปฏิบัติชอบต่อนางได้ และถ้าปฏิบัติ ไม่ดีจะได้ผลตรงข้าม ในอดีตหลังการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแต่ละปี ชาวบ้านจึงต้องจัดพิธีบายศรี สู่ขวัญให้นาง และปฏิบัติต่อนางอย่างเคารพนอบน้อม
เทพเจ้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้าวและการทำนา การทำนาให้ได้ผลดีนั้นจะต้องถือปฏิบัติเคารพบูชาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามความเชื่อของ ชาวบ้านแต่ละท้องถิ่น เทพเจ้า เทวดาอารักษ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำนาก็จะมีหน้าที่แตกต่างกันไป ซึ่งการปฏิบัติบูชาเซ่นไหว้ก็จะทำในโอกาสหรือวาระต่าง ๆ กัน เช่น พิธีจรดพระนังคัญแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีหลวง จัดขึ้นเพื่อให้เป็นขวัญกำลังใจแก่คนในชาติ ส่วนคนในท้องถิ่นอื่นก็จะมีพิธีกรรม แตกต่างกัน สำหรับคนอีสานแล้วจะยึดถือเทวดา ภูตผี ดังนี้ ตาแฮก หรือ ผีตาแฮก ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นผีเฝ้าไร่นา เมื่อชาวบ้านเข้าหักร้างถางพง เพื่อแปรสภาพที่ดินไปเป็น ที่นา พวกเขาจะทำพิธีเชิญผีตาแฮกตนหนึ่งมาเป็นผู้เฝ้ารักษาที่นาและข้าวกล้า แต่ละปีเจ้าของนา จะต้องทำพิธีเซ่นสังเวยก่อนลงไถนา และเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว จะต้องแบ่งข้าวสี่เกวียน (จำลอง เล็กๆ) ให้แก่ผีตาแฮกด้วย ตาปู่ หรือ ปู่ตา เป็นผีประจำหมู่บ้านอันเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน การสร้างหมู่บ้านจะต้องทำศาล ปู่ตา แล้วทำพิธีอัญเชิญปู่ตาซึ่งถือเป็นผีบรรพบุรุษ ให้มาอยู่ทำหน้าที่คอยพิทักษ์รักษามนุษย์ สัตว์ และพืชพันธุ์ธัญญาหารในหมู่บ้านให้ปลอดภัย การติดต่อระหว่างปู่ตากับชาวบ้านจะผ่านตัวแทน คือ คนทรง หรือที่เรียกว่า "จ้ำ" เมื่อถึงเดือนหก (ประมาณเดือนพฤษภาคม) ทุกปีจะมีพิธีบวงสรวง ปู่ตา และเสี่ยงทายเรื่องความสุขสบาย ความอุดมสมบูรณ์ของหมู่บ้าน และทำนายปริมาณน้ำฝน ในปีนั้น ๆ แถน เป็นเทวดาหรือผีฟ้าอยู่บนสวรรค์ มีอำนาจบันดาลให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ แก่มนุษย์ สัตว์ และพืชพันธุ์ธัญญาหารบนโลกได้ ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือแถนมาก ยามทุกข์ร้อนสิ่งใด มักจะบนบานให้แถนช่วยเหลือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำนา คือ ชาวบ้านเชื่อว่า แถนมีอำนาจสั่ง ให้ฝนตกได้ แต่ละปีจึงมีพิธีจุดบั้งไฟบูชาแถน เพื่อให้แถนสั่งให้ผู้มีหน้าที่ทำให้ฝนตก เช่น นาค พระพิรุณ ประทานฝนลงมาให้เรื่องที่เกี่ยวข้อง บุญบั้งไฟ นาค เป็นสัตว์ในอุดมคติที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในโลกบาดาล งานหรือหน้าที่ของนาค คือ การพ่น ฝนให้ตกลงในจักรวาลนี้ อันประกอบด้วยมหาสมุทร มนุษย์โลก และป่าหิมพานต์ นาคเกี่ยวข้องกับ การทำนาในส่วนที่เป็นผู้ทำให้น้ำฝนตกลงในมนุษยโลก ทำให้มนุษย์ได้ทำนา นอกจากนี้ยังมีนาค อีกจำพวกหนึ่งที่เรียกว่า "นาคทรงแผ่นดิน" เมื่อทำพิธีแรกไถนา ชาวนาต้องดูวัน เดือน ปี และทิศ ที่จะบ่ายหน้าควาย ต้องไม่ให้ควายลากไถไปในทิศที่ทวนเกล็ดนาคหรือเสาะเกล็ดนาค เพราะถ้า เป็นอย่างนั้นการทำนาในปีนั้นจะทำให้เกิดอุปสรรคต่าง ๆ ขึ้นนางธรณี ชาวบ้านเชื่อกันว่า นางธรณีหรือแม่ธรณีเป็นเทพเจ้าแห่งพื้นดิน ก่อนจะไถนาหรือปลูก ข้าว ต้องบอกกล่าวขออนุญาตต่อนางเสียก่อน และทำพิธีเซ่นไหว้ด้วยพาหวาน (มีข้าวนึ่ง ไข่ไก่) 1 พา และขอให้นางธรณีช่วยปกป้องรักษาข้าวในนา อย่าให้มีศัตรูมาเบียดเบียน และขอให้ได้ทำนา ด้วยความสะดวกสบายตลอดฤดูกาล --------------------------------------------------------------------------------พิธีแฮกไถนา การแรกไถนาทำในเดือนหกวันฟูเวลาเช้า เจ้าของนาเป็นผู้ทำพิธี เทพเจ้าหลักที่อ้างถึงใน พิธีนี้คือ นางธรณี หรือ ผีตาแฮก แล้วแต่ใครจะนับถือองค์ไหน เทพเจ้าประกอบได้แก่ พระภูมิเจ้าที่ และ รุกขเทวดา กระทำพิธีในนาแปลงใดก็ได้ องค์ประกอบในพิธีมี พาหวาน 4 และ พายา 4 กอก (กรณี นับถือตาแฮก) องค์ประกอบนี้เปลี่ยนแปลงไปตามข้อปฏิบัติของแต่ละบุคคล วิธีทำ นำเอาเครื่องประกอบเหล่านี้ไปเซ่นสังเวยบอกกล่าวว่า มื้อนี้เป็นมื้อสันต์วันดี จะทำการแฮกไถนา ขอให้เทพเจ้า (ออกชื่อ) จงช่วยคุ้มกันรักษา ขยับขยายที่ให้ได้ทำนา อย่างสุขสบาย แล้วเริ่มไถนาในทิศทางที่ตามเกล็ดนาค (ห้ามไถทวนเกล็ดนาค) ไถวน จำนวน 3 รอบแล้วหยุด ปล่อยควาย เป็นการเสร็จพิธี วันต่อไปจึงเริ่มไถเป็นปกติได้ พิธีนี้มีเป้าหมายเพื่อให้เทพเจ้าคุ้มครองรักษาทั้งคน สัตว์ ข้าวกล้า และขออนุญาตต่อเทพเจ้า เพื่อเตรียมดินปลูกข้าวในปีนั้น ๆ ตามความเชื่อที่ยึดถือปฏิบัติกันมา พิธีแฮกดำนา หรือปลูกข้าวตาแฮก
จัดขึ้นประมาณเดือนเจ็ดหรือเดือนแปด (มิถุนายน - กรกฎาคม) วันประกอบพิธีต้องเป็น วันฟู หรือวันจันทร์ หรือวันพฤหัสบดี หรือวันเกิดของเจ้าของนา แล้วแต่ใครจะเลือกนับถือ ทำพิธี เวลาเช้า พ่อบ้านหรือแม่บ้านเป็นผู้กระทำ เทพเจ้าที่อ้างถึงได้แก่ ผีตาแฮก หรือ นางธรณี แล้วแต่ ใครจะนับถือรูปใดก็บูชารูปนั้น สถานที่ที่ปลูกข้าวตาแฮกนั้นให้เลือกเอาบริเวณที่ใกล้ ๆ กับโพนนา (จอมปลวก) หรือใกล้กกไม้
วิธีทำ เตรียมดินให้กว้างพอจะปลูกข้าวแฮกประมาณ 7 หรือ 14 กอ แล้วสร้างร้านสี่เสา เล็ก ๆ ขึ้นพอจะเป็นที่วางเครื่องสังเวยได้ เอาเครื่องสังเวยซึ่งเป็นเช่นเดียวกับพิธีแฮกไถนาวางบน ร้าน จากนั้นจึงกล่าวคำอ้อนวอนว่า "มื้อนี้มื้อสันต์วันดี พวกข้าจะมาปักแฮก ขอให้ตาแฮก (หรือนางธรณี) ช่วยคุ้มครองรักษาให้ข้าวกล้าในนางอกงาม ไม่มีพวกช้าง พวกควาย หรือ ไพร่พลมาทำลาย" แล้วจึงปักข้าวแฮก 7 หรือ 14 กอ ตามแต่นับถือ เป็นอันเสร็จพิธี เป้าหมายของพิธี คือ ต้องการให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองข้าวกล้าให้งอกงาม ไม่มีโรคภัยมา เบียดเบียน สำหรับกรณีผู้นับถือตาแฮกจะบนบานว่า หลังจากการเก็บเกี่ยวแล้วจะแบ่งข้าวที่ได้ให้ ตาแฮก 4 เกวียน (เกวียนจำลอง)
พิธีเลี้ยงผีปู่ตาหรือผีตาปู่

จัดขึ้นในเดือนหก (ประมาณเดือนพฤษภาคม) วันพุธ (จะเป็นวันพุธสัปดาห์ไหนก็ได้) ตอนเช้า พิธีนี้มี "จ้ำ" เป็นผู้ดำเนินการ โดยป่าวประกาศให้ลูกบ้านทราบว่าจะทำพิธีวันไหน และให้ ลูกบ้านบริจาคเงิน ข้าวของตามศรัทธาให้แก่จ้ำ เพื่อจะได้นำไปซื้อเครื่องเซ่นมาทำพิธี ซึ่งมีไก่ 3 ตัว เหล้า 1 ขวด บุหรี่ ยาสูบ หมาก ผ้าซิ่น ดอกไม้ และธูปเทียน เมื่อถึงวันพิธี ชาวบ้านทุกครอบครัวไปร่วมงาน ซึ่งจัดขึ้นเวลาเช้า ณ ศาลปู่ตาประจำ หมู่บ้าน ในพิธีมีการเสี่ยงทายโดยใช้ไก่ 3 ตัว เป็นเครื่องเสี่ยงทาย 3 กรณี คือ ไก่ตัวที่ 1 เสี่ยงทายเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์ ไก่ตัวที่ 2 เสี่ยงทายเกี่ยวกับฝนฟ้าอากาศ ไก่ตัวที่ 3 เสี่ยงทายเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงและพืชพันธุ์ โดยดูจากลักษณะปลายขากรรไกรล่างทั้งสองข้างของไก่ ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง การเสี่ยงทายอีกประการหนึ่ง คือ การเสี่ยงทายฟ้าฝนด้วยไม้วา โดยเอาไม้มาหนึ่งท่อนขนาดยาว 1 วาของจ้ำ (ผู้กระทำพิธี) นำมาเข้าพิธี โดยอธิษฐานว่า ถ้าฝนดีขอให้ไม้นี้ยาวกว่า 1 วาของจ้ำ ถ้า ฝนแล้งขอให้ไม้สั้นกว่า 1 วาของจ้ำ เมื่อทำพิธีอธิษฐานแล้วก็เอาไม้มาวัดเทียบกับวาของจ้ำ แล้วให้ ทำนายตามผลที่ปรากฏ ส่วนการทำนายตามลักษณะไก่ คือ ดึงเอาขากรรไกร (ปากล่าง) ของไก่ที่บูชาตาแล้ว ออกมา แล้วดูว่าปลายขากรรไกรทั้งสองข้าง (ซึ่งมีลักษณะเป็นสองง่าม) เป็นอย่างไร ถ้าปลายง่ามห้อยตกลงหรือไม่เสมอกัน หมายถึงในปีนั้นสัตว์เลี้ยงจะไม่สบาย เกิดโรค ถ้าเกี่ยวกับคนทายว่าจะแตกความสามัคคี เจ็บไข้ได้ป่วย ถ้าเกี่ยวกับพืชพันธุ์ธัญญาหาร ก็จะไม่สมบูรณ์ ถ้าง่ามขากรรไกรทั้งสองข้างยาวเท่ากัน จะหมายถึงมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งสัตว์เลี้ยง ผู้คน และพืชพันธุ์ ถ้าขากรรไกรมีสีขาว แสดงว่า ฝนแล้ง ถ้าขากรรไกรมีสีดำ แสดงว่า ฝนฟ้าดี พิธีเลี้ยงผีปู่ตาเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการทำนาปลูกข้าวอย่างใกล้ชิด ผลคำ ทำนายเป็นเช่นไร ชาวบ้านมักจะนำไปเป็นข้อมูลในการเตรียมตัวทำนาในปีนั้น ๆ นอกจากนั้นปู่ตา ยังมีความสำคัญกับหมู่บ้านเพราะเป็นที่พึ่งทางใจ เป็นผู้อนุรักษ์ป่าไม้ชุมชนของหมู่บ้านนั้น ๆ ให้ ยังคงอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งอาหารเลี้ยงชุมชนตราบเท่าลูกหลาน
http://learners.in.th/blog/ofta/49531?class=yuimenuitemlabel

หมอลำอีสาน

หมอลำอีสาน
หมอลำ แบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทคือ หมอลำผีฟ้า หมอลำพื้น หมอลำกลอน และหมอลำหมู่
หมอลำผีฟ้า หมายถึง หมอลำที่ติดต่อกับผีฟ้า ความมุ่งหมายของการร้องรำผีฟ้าก็เพื่อรักษาคนป่วย แล้วเชิญชวนคนป่วยให้ลุกขึ้นมาร่วมร้องรำทำเพลงกับคณะหมอลำ ถ้าคนป่วยอาการหนักอาจจะไม่ลุกก็ได้ ไม่ได้เจตนาลำเพื่อสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ฟัง แต่มุ่งสร้างความบันเทิงให้แก่ คนป่วยเป็นสำคัญ
กลอนลำของหมอลำผีฟ้าและเพลงแคนเป็น "กลอนผญา" เหมือนกับกลอนเกี้ยวระหว่างหนุ่มสาว ร้องรำได้ก็ต่อเมื่อผีฟ้ามาเข้าสิง เฉพาะบทเชิญพญาแถนลงมาเยี่ยมคนป่วย ทำนองลำและทำนองแคน เรียกกันว่า "ลำทางยาว" คือ ลำแบบมีเสียงเอื้อนยาวสะอึกสะอื้นนั่นเอง ทำนองแคน ในทางปฏิบัติจะเป็น "ลาย"
หมอลำพื้น หมายถึง "หมอลำนิทาน" คือ หมอที่เล่านิทานด้วยการลำ (ขับร้อง) คำที่เก่าแก่พอๆ กันกับ "ลำพื้น" ก็คือ "เว้าพื้น" ซึ่งตรงกับว่า "เล่าเรื่อง" หมอลำพื้นจะเป็นหมอลำคนเดียว และมีหมอแคนเป่าคลอเสียงประสานไปด้วย
หมอลำกลอน คือหมอลำที่ลำโดยใช้กลอน ถ้าจะให้ใกล้เคียงกับความหมายก็น่าจะเป็น "หมอลำโต้กลอน" มากกว่า เพราะเป็นการลำแข่งขันโต้ตอบกันด้วยกลอนลำ แบ่งได้เป็น ๓ ประเภทคือ หมอลำกั๊บแก๊บ หมอลำกลอน(ธรรมดา) และหมอลำชิงชู้
หมอลำกั๊บแก๊บ หรือหมอลำกรับ หมอลำ (คนเดียว) จะลำเป็นทำนองลำกลอน
หมอลำกลอน เป็นหมอลำคู่ ชาย-ชาย หรือชาย-หญิง ปัจจุบันจะมีเฉพาะคู่ชาย-หญิง เท่านั้น สมัยก่อนจะเน้นในทางแข่งวิชาความรู้กันเป็นหลัก ปัจจุบันนิยมการลำเกี้ยวกันเป็นการสนุกสนานเพลิดเพลิน ต้องใช้ศิลปะสูงยิ่งกว่าหมอลำประเภทใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งการฝึกฝนอบรม ความขยันหมั่นเพียร ตลอดจนคุณค่าของบทกลอน
ทำนองลำมีอยู่สองทำนองคือ ทำนองลำทางสั้น กับทำนองลำทางยาว ปัจจุบันมีทำนองลำเต้ยเพิ่มเข้าเป็นตอน ทำนองลำทางสั้นเนื้อเต็มไม่มีเอื้อนมีจังหวะสม่ำเสมอ ทำนองลำทางยาวหรือบางทีเรียกว่า ลำล่อง หรือลำอ่านหนังสือ เป็นทำนองลำแบบเอื้อนเสียงยาวสะอึกสะอื้นแสดงอารมณ์โศก ส่วนลำเต้ยเป็นการลำแบบเนื้อเต็ม มีจังหวะคึกคัก มีชีวิตชีวา แสดงอารมณ์รักและอ่อนหวาน มักจะแสดงตลอดทั้งคืน ประมาณสามทุ่มจนถึงสว่างทำนองลำเต้ย หมายถึง เพลงสั้นๆ ที่ใช้ลำเกี้ยวกันและมีจังหวะคึกคักมีชีวิตชีวา ซึ่งมีทั้งหมด ๔ ทำนองคือ เต้ยโขง เต้ยพม่า เต้ยธรรมดา และเต้ยหัวโนนตาล
หมอลำชิงชู้ เป็นหมอลำประเภทหนึ่งที่มีหมอลำฝ่ายชาย ๓ คน ฝ่ายหญิง ๑ คน เป็นการลำประชันแข่งขันระหว่างฝ่ายชายเพื่อเอาชนะใจฝ่ายหญิงสมมติฝ่ายชายทั้งสามให้เป็นข้าราชการ พ่อค้า และชาวนา บางทีเรียกหมอลำนี้ว่า หมอลำสามเกลอ หรือหมอลำสามสิงห์ชิงนาง
หมอลำหมู่ คือ หมอลำที่มีผู้แสดงหลายคน โดยแสดงเป็นเรื่องราวแสดงละคร หรือลิเก โดยนำเอานิทานพื้นเมืองมาทำบทใหม่ เช่น เรื่องนางแตงอ่อน ท้าวสีทน ขุนลู (บูลู) - นางอั้ว ผาแดง - นางไอ่ ท้าวการะเกด และท้าวก่ำกาดำ เป็นต้น แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ หมอลำหมู่ กับหมอลำเพลิน ลำหมู่ธรรมดามักจะเน้นเรื่องความจริงจัง ความเป็นอนุรักษ์นิยม มีทำนองโศก แต่งตัวสุภาพเรียบร้อย ส่วนลำเพลินจะเน้นความสนุกสนานเพลิดเพลินและความเป็นอิสรนิยมเป็นสำคัญ แต่งตัวแบบสมัยนิยม คือ นุ่งกระโปรงสั้น อวดรูปทรง

วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2551

ผญา

คนอีสานมีคำคม สุภาษิตสำหรับสั่งสอนลูกหลานให้ประพฤติตนอยู่ในฮีตคอง (จารีต- ประเพณี) ไม่ออกนอกลู่นอกทาง คำคมเหล่านี้รู้จักกันทั่วไป ในชื่อ "ผญา" หมายถึง ปัญญา, ปรัชญา, ความฉลาด, คำภาษิตที่มีความหมายลึกซึ้ง (wisdom, philosophy, maxim, aphorism.)ผะหยา หรือ ผญา เป็นคำภาษาอีสาน สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจากคำว่า ปรัชญา เพราะภาษาอีสานออกเสียงควบ "ปร" ไปเป็น ผ เช่น คำว่า เปรต เป็น เผต โปรด เป็น โผด หมากปราง เป็น หมากผาง ดังนั้นคำว่า ปรัชญา อาจมาเป็น ผัชญา แล้วเป็น ผญา อีกต่อหนึ่ง ปัญญา ปรัชญา หรือผญา เป็นกลุ่มภาษาเดียวกัน มีความหมายคล้ายคลึงกัน ใกล้ เคียงกันหรือบางครั้งใช้แทนกันได้ ซึ่งหมายถึง ปัญญา ความรู้ ไหวพริบ สติปัญญา ความเฉลียว ฉลาดปราชญ์เปรื่อง หรือบางท่านบอกว่า ผญา มาจากปัญญา โดยเอา ป เป็น ผ เหมือนกับ เปรต เป็น เผด โปรด เป็น โผด เป็นต้น ผญาเป็นลักษณะแห่งความคิดที่แสดงออกมาทางคำพูด ซึ่งอาจ จะมีสัมผัสหรือไม่ก็ได้ * ผญา คือ คำคม สุภาษิต หรือคำพูดที่เป็นปริศนา คือฟังแล้วต้องนำมาคิด มาวิเคราะห์ เพื่อค้นหาคำตอบที่เป็นจริงและชัดเจนว่า หมายถึงอะไร * ผญา เป็นคำพูดที่คล้องจองกัน ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องมีสัมผัสเสมอไป แต่เวลาพูดจะ ไพเราะสละสลวย และในการพูดนั้นจะขึ้นอยู่กับจังหวะหนักเบาด้วย * ผญา เป็นการพูดที่ต้องใช้ไหวพริบ สติปัญญา มีเชาวน์ มีอารมณ์คมคาย พูดสั้นแต่กิน ใจความมากการพูดผญาเป็นการพูดที่กินใจ การพูดคุยด้วยคารมคมคาย ซึ่งเรียกว่า ผญา นั้น ทำให้ผู้ฟังได้ทั้งความรู้และความคิดสติปัญญา ความสนุกเพลิดเพลิน ยิ่งไปกว่านั้น ยังทำให้เกิด ความรักด้วย จึงทำให้หนุ่มสาวฝนสมัยก่อน นิยมพูดผญากันมาก และการโต้ตอบเชิงปัญญาที่ทำ ให้แต่ละฝ่ายเฟ้นหาคำตอบ เพื่อเอาชนะกันนั้นจึงก่อให้เกิดความซาบซึ้ง ล้ำลึกสามารถผูกมัด จิตใจของหนุ่มสาวไม่น้อย ดังนั้น ผญา จึงเป็นเมืองมนต์ขลัง ที่ตรึงจิตใจหนุ่มสาวให้แนบแน่น ลึกซึ้งลงไป ภาษิตโบราณอีสานแต่ละภาษิตมีความหมายลึกบ้าง ตื้นบ้าง หยาบก็มี ละเอียด ก็มี ถ้าท่านได้พบภาษิตที่หยาบ ๆ โปรดได้เข้าใจว่า คนโบราณชอบสอนแบบตาเห็น ภาษิตประจำ ชาติใด ก็เป็นคำไพเราะเหมาะสมแก่คนชาตินั้น คนในชาตินั้นนิยมชมชอบว่าเป็นของดี ส่วนคน ในชาติอื่น อาจเห็นว่าเป็นคำไม่ไพเราะเหมาะสมก็ได้ ความจริง "ภาษิต" คือรูปภาพของวัฒนธรรม แห่งชาติ นั่นเองการจ่ายผญา หรือการแก้ผญาการจ่ายผญา แก้ผญา เว้าผญา หรือพูดผญา คือการตอบคำถาม ซึ่งมึผู้ถามมาแล้ว ก็ตอบไป เป็นการพูดธรรมดา ไม่มีการเอื้อนเสียง ไม่มีทำนอง แต่เป็นจังหวะ มีวรรคตอนเท่านั้น ผู้ถามส่วนใหญ่จะเป็นหมอลำฝ่ายชาย คือลำเป็นคำถาม ฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายตอบ หรือจ่ายผญา ด้วยเหตุนี้จึงมักจะเรียกว่า ลำผญา หรือลำผญาญ่อย เช่น (ชาย) ..... อ้ายนี้อยากถามข่าวน้ำ ถามข่าวถึงปลา อยากถามข่าวนา ถามข่าวถึงเข้า (ข้าว) อ้ายอยากถามข่าวน้อง ว่ามีผัวแล้วหรือบ่ หรือว่ามีแต่ชู้ ผัวสิซ้อนหากบ่มี (หญิง) ..... น้องนี้ปอดอ้อยซ้อยเสมอดังตองตัด พัดแต่เป็นหญิงมา บ่มีชายสิมาเกี้ยว พัดแต่สอนลอนขึ้น บ่มีเครือสิเกี้ยวพุ่ม พัดแต่เป็นพุ่มไม้เครือสิเกี้ยวกะบ่มีหมอผญาที่ควรกล่าวถึงในที่นี้ คือ แม่ดา ซามงค์ แม่สำอางค์ อุณวงศ์ แม่เป๋อ พลเพ็ง แม่บุญเหลื่อม พลเพ็ง แห่งบ้านดอนตาล อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เป็นต้นการลำและจ่ายผญา ในสมัยโบราณนั้นจะนั่งกับพื้น คือ หมอลำ หมอผญาและหมอแคน จะนั่งเป็นวง ส่วนผู้ฟังอื่น ๆ ก็นั่งเป็นวงล้อมรอบ หมอลำบางครั้งจะมีการฟ้อนด้วย ส่วนผู้จ่ายผญา จะไม่มีการฟ้อน ในบางครั้งจะทำงานไปด้วยแก้ผญาไปด้วย เช่น เวลาลงข่วง หมอลำชายจะลำ เกี้ยว ฝ่ายหญิงจะเข็นฝ้ายไปแก้ผญาไป นอกจากหมอลำ หมอแคนแล้ว บางครั้งจะมีหมอสอยทำ การสอยสอดแทรกเป็นจังหวะไป ทำให้ผู้ฟังได้รับความสนุกสนาน การจ่ายผญาในครั้งแรก ๆ นั้น เป็นการพูดธรรมดา ไม่มีการเอื้อนเสียงยาว และนั่งพูดจ่ายตามธรรมดา ต่อมาได้มีการดัดแปลง ให้มีการเอื้อนเสียงยาว มีจังหวะและสัมผัสนอกสัมผัสในด้วย ทำให้เกิดความไพเราะ และมีการเป่า แคนประกอบจนกลายมาเป็น "หมอลำผญา" ซึ่งพึ่งมีขึ้นประมาณ 30-40 ปีมานี้เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปการพัฒนาของการจ่ายผญาจึงมีมากขึ้น จากการนั่งจ่ายผญา ซึ่งมองกันว่าไม่ค่อยถนัดและไม่ถึงอกถึงใจผู้ฟัง (ด้วยขาดการแสดงออกด้านท่าทางประกอบ) จึงมีการเปลี่ยนมาเป็นยืนลำ ทำให้มีการฟ้อนประกอบไปด้วย จากดนตรีประกอบที่มีเพียง แคน ก็ได้นำเอากลอง ฉิ่ง ฉาบ และดนตรีอื่น ๆ เข้ามาประกอบ จากผู้แสดงเพียง 2 คนก็ค่อย ๆ เพิ่มเป็น 3, 4 และ 5 คน จนมารวมกันเป็นคณะ เรียกว่า คณะหมอลำผญา บางคณะได้มีหางเครื่องเข้ามา ประกอบด้วย ความทวย (ปริศนาคำทาย)ความทวย ในภาษาอีสาน จะมีความหมายตรงกับ ปริศนาคำทาย ในภาษากลาง เป็นวิธีการสอนลูกหลานให้มีความคิด เชาว์ปัญญา ไหวพริบปฏิภาณเฉียบแหลม ประกอบกับการเล่านิทานที่มีคติสอนใจ ในสมัยก่อนนั้น คนบ้านนอกในภาคอีสานยังไม่มีวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งบันเทิงที่พอมีคือการเล่านิทานชาดกของคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน ในขณะที่คนแก่ก็จะได้ความสุขใจมาจากการฟังเทศน์ฟังธรรมจากวัดช่วงเย็นหลังอาหารค่ำก็จะเป็นช่วงเวลาของเด็กๆ หนุ่มสาว จะได้ฟังนิทานชาดก นิทานพื้นบ้านกัน หลังการเล่านิทานก็จะมีการถามปัญหา หรือ ความทวย ผู้ใดสามารถตอบได้ก็จะได้รับรางวัลเป็นผลไม้ กล้วย อ้อย ตามฤดูกาล ตัวอย่างความทวย เช่น * ความทวย สุกอยู่ดิน กากินบ่ได้ สุกอยู่ฟ้า กายื้อบ่เถิง ไผว่าแม่นหยัง? * ความแก้ ลูกหลานก็จะคิดหาความแก้ ถ้าใครแก้ได้ท่านก็ให้รางวัลดังกล่าว แล้วความแก้หรือคำตอบนี้ก็คือ "ดวงตะวัน" และ "กองไฟ"ข้อสังเกต ความทวยหรือปริศนาปัญหานี้ ท่านจะผูกขึ้นจากลักษณะของสิ่งที่จะเอามาตั้งเป็นปัญหา เพื่อให้ลูกหลานใช้สมองเทียบเคียงดู เช่น สุกอยู่ดินคือ "กองไฟ" เพราะกองไฟมันจะมีสีแดง ปกติของสีแดงๆ มันจะเป็นสัญลักษณ์แห่งของสุก "สุกอยู่ฟ้า" คือดวงตะวันสีแดงๆ บนฟ้า ของสุกมันจะมีสีแดง ของดิบมันจะเป็นสีอื่นๆ และกากินไม่ได้ด้วย เด็กฉลาดก็จะเทียบเคียงได้เอง
จิตแผ้ว:ประเภทของผญา - สุภาษิต - ความทวยผญาเมื่อแบ่งแยกหมวดหมู่ออกไปตามลักษณะอย่างคร่าวๆ ก็สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทดังนี้ 1. ผญาคำสอน 2. ผญาปริศนา 3. ผญาภาษิตสะกิดใจ 4. ผญาเกี้ยวพาราสีทั่วไป 5. ผญาเกี้ยวพาราสีโต้ตอบหนุ่มสาว 6. หมวดภาษิตคำเปรียบเปรยต่างๆ 7. ผญาปัญหาภาษิต 8. ความทวย 9. ภาษิตโบราณอีสาน 10. คำกลอนโบราณอีสาน11. วรรณกรรมคำสอย (ตอนที่ 1) 12. วรรณกรรมคำสอย (ตอนที่ 2)

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551

ประวัติบัลเลต์สากล

บัลเล่ต์-ประวัติการเต้นรำเพื่อความบันเทิง เฟื่องฟูช่วงปลายศตวรรษที่ 15-16 ในรูปแบบต่างๆไม่ว่าการแสดงโลดโผน ละครใบ้ บทสนทนา และบทเพลงผสมผสานกัน มีจุดประสงค์รับใช้ราชสำนักเป็นหลัก ประชาชนเป็นรองสำหรับบัลเล่ต์เป็นศิลปะการเต้นรำที่พระนางแคเธอรีนแห่งเมดีซี (Catherine de Medici) นำไปพัฒนาที่ฝรั่งเศส เมื่อพระนางอภิเษกกับกษัตริย์อองรีที่ 2 ในตอนนั้นการแสดงบัลเล่ต์กินเวลานานกว่า 5 ชั่วโมงบัลเล่ต์ทำให้สตรีในราชสำนักมีโอกาสร่วมเต้นรำด้วย หลังจากที่เคยจำกัดอยู่ในวงของบุรุษ แต่บทนางเอกของเรื่องก็ยังกำหนดให้ผู้ชายแสดงอยู่ดี ส่วนผู้หญิงได้เล่นแต่บทเล็กๆ นอกจากนั้นผู้หญิงยังถูกจำกัดท่าทางการเต้นด้วยเครื่องแต่งกายที่ฟูยาว ขณะที่ผู้ชายแต่งตัวด้วยชุดรัดรูป ทำให้มีอิสระในการเคลื่อนไหวขามากกว่าไม่ว่า การหมุน การซอยเท้า การกระโดดซับซ้อนขึ้น รวมทั้งการยืนบนปลายเท้า ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการเต้นบัลเล่ต์พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นผู้มีอิทธิพลมากในการทำให้การเต้นรำในราชสำนักกลายเป็นการเต้นรำเพื่ออาชีพ พระองค์ร่วมแสดงละครบัลเล่ต์เรื่อง “La nuit” ทั้งระดมผู้คนทั้งในราชสำนัก นักการเมือง และผู้มีพรสวรรค์ทุ่มเทพัฒนาการแสดงเต้นรำ ในค.ศ.1661 ทรงก่อตั้งสถาบันการเต้นรำอาชีพและสถาบันการดนตรีแห่งราชสำนัก และในปี 1671 จึงมีโรงเรียนสอนเต้นรำ ที่กรุงปารีส ซึ่งเปิดกว้างสู่สามัญชนในช่วงปลายศตวรรษที่ 17-18 มีการก่อตั้งมูลนิธิของบัลเล่ต์ เพื่อพัฒนาการเต้นให้ดียิ่งขึ้น เช่นการใช้เท้าที่ซับซ้อนและเป็นธรรมชาติมากขึ้น ขณะที่นักเต้นบัลเล่ต์หญิงเริ่มมีบทบาทเด่นมากขึ้น ในปี 1681 นักเต้นหญิงมีโอกาสขึ้นเวที โดย Marie de Carmargo เป็นหนึ่งในนักเต้นบัลเล่ต์หญิงที่มีชื่อเสียงด้านระบำปลายเท้าที่ว่องไวและซับซ้อน เธอยังเป็นผู้ที่ตัดกระโปรงบัลเล่ต์ให้สั้นลง 2-3 นิ้ว เพื่อให้เต้นสะดวกขึ้นการปฏิวัติของมารีไม่ได้รับการยอมรับนัก กระทั่ง 50 ปีผ่านไป ในปีค.ศ.1760 ผู้เชี่ยวชาญบัลเล่ต์เริ่มตั้งคำถามถึงข้อจำกัดซึ่งยึดหลักศิลปะ และข้อจำกัดที่ไม่จำเป็น ปรมาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของวงการคือ ฌอง จอร์จ โนแวร์ ผู้เสนอแนวคิดการพัฒนาบัลเล่ต์ให้เป็นแบบฉบับศิลปะที่เป็นจริงเป็นจัง เพราะเห็นว่าบัลเล่ต์ควรเป็นวิธีที่ใช้แสดงความคิดทางละครผ่านทางการผสมผสานที่สมบูรณ์แบบของการเต้นรำ ละคร และตัวละคร เขาแลกเปลี่ยนความคิดของเขากับนักเรียน นักเต้นรำ และผู้ออกแบบท่าเต้นในเวลานั้น แต่มีอยู่เพียงท่านเดียวที่นำแนวความคิดของโนแวร์ไปปฏิบัติคือ โดแบร์วาล ผู้ออกแบบท่าเต้นทิ่ยิ่งใหญ่ เขาออกแบบท่าเต้นรำและสร้างตัวละครสามัญชนในละครเรื่อง La Fille Mal Garde ปีค.ศ.1789 ปัจจุบันบัลเล่ต์มีผู้ชมจำนวนกว้างขึ้น และมีหลากหลายเรื่องที่เล่น ได้แก่ Swan Lake (หงส์เหิน) Sleeping Beauty (เจ้าหญิงนิทรา) The Nutcracker , Carmen ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เพลงคลาสสิคของไชคอสสกีในการบรรเลง


ประวัติบัลเล่ต์ในไทย

บัลเล่ต์ในไทย
ประวัติบัลเล่ต์ในไทย

ประวัติความเป็นมาของบัลเล่ต์ในประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค ตามวิวัฒนาการทางด้านการศึกษาและการแสดง คือ
ยุคที่ 1 ยุคริเริ่ม (ตั้งแต่ พ.ศ. 2477 ถึง พ.ศ. 2494) เริ่มมีการเรียนบัลเลต์ในโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ใน พ.ศ. 2477 ตรงกับสมัยรัชการที่ 7 เป็นการสอนแบบอิสระโดยให้นักเรียนเต้นตาม การแสดงจะเป็นการเต้นประกอบเพลงในละครเพื่อคั่นสลับฉาก รูปแบบการนำเสนอของบัลเล่ต์เข้ามามีบทบาท กับการแสดงนาฏยศิลป์ไทยโดยเฉพาะในละครดึกดำบรรพ์
ยุคที่ 2 ยุคพัฒนาบัลเล่ต์ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ถึง พ.ศ. 2509) บัลเล่ต์เริ่มมีการพัฒนามากขึ้น เนื่องจากมีครูบัลเล่ต์อาชีพจากต่างประเทศจำนวน 4 คนเปิดสอนบัลเล่ต์ในกรุงเทพฯ การสอนยังเป็นแบบอิสระและมักเป็นการซ้อมเพื่อแสดง มีคนไทยจำนวน 4 คนจบการศึกษาบัลเล่ต์ขั้นสูงจากประเทศอังกฤษ บัลเล่ต์เริ่มขยายไปสู่จังหวัดเชียงใหม่ การแสดงเป็นบัลเล่ต์คลาสสิกและการผสมระหว่างนาฏยศิลป์ไทยกับบัลเล่ต์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงประพันธ์บทเพลงเพื่อใช้ประกอบการแสดงบัลเล่ต์หลายชุด และทรงให้การสนับสนุนการแสดงบัลเล่ต์ จึงทำให้บัลเล่ต์เป็นที่รู้จักของคนไทยมากขึ้น
และยุคที่ 3 ยุคมาตรฐานบัลเล่ต์คลาสสิก (ตั้งแต่ พ.ศ. 2509 ถึง พ.ศ. 2541) การเต้นบัลเล่ต์ได้พัฒนาจนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ของหลักสูตรการศึกษาของไทยในระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา และได้มีการแพร่ขยายไปในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ การสอนเปลี่ยนแปลงมาเป็นการใช้หลักสูตรสากลของประเทศอังกฤษ เป็นการวัดมาตรฐานบัลเล่ต์ของประเทศไทยให้ได้มาตรฐานสากล การแสดงเป็นบัลเล่ต์คลาสสิก โดยมี 2 ลักษณะ คือ การแสดงงานโรงเรียนและการแสดงในเชิงพาณิชย์ ในประเทศไทยยังไม่มีคณะบัลเล่ต์อาชีพ และผู้สนับสนุนบัลเล่ต์อย่างจริงจัง ทำให้การพัฒนาไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งควรมีการแต่งตำราเกี่ยวกับบัลเล่ต์เป็นภาษาไทย เพื่อให้นักเต้นได้รู้และเข้าใจการเต้นบัลเล่ต์ดียิ่งขึ้น และงานวิจัยฉบับนี้ควรนำไปสู่การวิจัยเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาบัลเล่ต์ในประเทศไทยต่อไป...